สรุปคอร์ส: Attract and Engage Customers with Digital Marketing จาก Google

มาต่อกันกับเนื้อหาในคอร์สที่ 2 จากทั้งหมด 7 คอร์สใน Google Digital Marketing & E-commerce Professional Certificate

  1. Foundations of Digital Marketing and E-commerce < คลิกอ่านตอนที่แล้ว
  2. Attract and Engage Customers with Digital Marketing 👈
  3. From Likes to Leads: Interact with Customers Online
  4. Think Outside the Inbox: Email Marketing
  5. Assess for Success: Marketing Analytics and Measurement
  6. Make the Sale: Build, Launch, and Manage E-commerce Stores
  7. Satisfaction Guaranteed: Develop Customer Loyalty Online

เนื้อหาในบทความนี้พูดถึง Search Engine, SEO และ SEM ที่เป็นเทคนิคช่วยให้คนรู้จักแบรนด์ของเรา อยู่ใน Stage ของ Awareness ใน Marketing Funnel

Awareness คือ ขั้นตอนที่คนรับรู้ถึงการมีอยู่ของ Brand หรือสินค้า


How Does The Google Search Engine Work?

ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่าเจ้า Google Search Engine หรืออากู๋ http://www.google.com ของเรา มันทำงานยังไงนะ?

Main Processes Of A Search Engine

  • Crawling
  • Indexing
  • Serving

Search Engine คืออะไร?

Search Engine คือ ซอฟต์แวร์ที่ค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคำที่ใช้ค้นหา (Search Query หรือ Keyword)

Crawling คืออะไร?

Crawling คือ กระบวนการค้นหา Web หน้าใหม่ๆ หรือ Web ที่ถูกอัพเดท เมื่อหน้า Web ถูก Crawled เรียบร้อยแล้ว Google เก็บมันไว้ในสิ่งที่เรียกว่า Index

เจ้าตัว Index ทำหน้าที่คล้ายสารบัญในหนังสือ เพื่อบอกว่าหน้า Web ต่างๆ มีเลขกำกับและลำดับเป็นอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็น text, photos และ video content ก็สามารถถูก Index ได้เช่นกัน

Indexing
Indexing by Google

Search Engine Algorithm

Search Engine Algorithm คือ ซอฟต์แวร์ที่ทำงานแบบอัตโนมัติเพื่อช่วยค้นหาข้อมูลเพื่อตอบคำถาม User จาก Search Query

จุดประสงค์ของ Search Algorithm คือ Deliver ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดจากการค้นหาของ User พูดอีกแบบคือพยายามส่งข้อมูลให้ User พอใจที่สุด


How Google Determines Website Ranking?

มาดูกันว่าปกติแล้ว Google พิจารณาอะไรบ้างในการจัดอันดับ Website

ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดอันดับ Website ของ Google

  • ความหมายของคำค้นหา (Keyword)
  • ความเกี่ยวข้องของ Webpages
  • คุณภาพของเนื้อหา
  • ความสะดวกต่อการใช้งาน ของ Webpages
  • Context และการตั้งค่าต่างๆ

1.ความหมายของคำค้นหา (Keyword)

Query คือ คำที่พิมเข้าไปใน Google Search Bar คำต่างๆ เหล่านั้นเรียกว่า Keyword

Keyword คือ คำ หรือกลุ่มคำ ที่ผู้คนใช้ค้นหาข้อมูล, สินค้าและบริการผ่านทางออนไลน์

ดังนั้น Keyword ควรมีอยู่ในส่วนต่างๆ บน Website ของเรา เช่น Heading หรือ Body Text เจ้า Search algorithm จัดอันดับ Website จากสิ่งนี้ด้วย

2.ความเกี่ยวข้องของ Webpages

นอกจาก Keyword แล้ว ความเกี่ยวข้องก็สำคัญมาก หากมีคนค้นหาคำว่า สุนัข แล้ว Website ของเราไปโผล่ในหน้า SERPs (หน้าผลลัพธ์การ Search) เมื่อคนกดเข้ามาใน Website พบว่ามีแต่ข้อความคำว่า สุนัข เต็มไปหมด แต่ไม่มีรูปถ่าย หรือข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับสุนัขเลย Google จะถีบเราตกอันดับไปเรื่อยๆ เพราะ Website ของเราไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผู้คนกำลังตามหานั่นเอง

3.คุณภาพของเนื้อหา

Google พิจารณาว่า มี Website หรือ Communtiy ที่มีชื่อเสียงในด้านนั้นๆ เอา Link ของ Website เราไปกระจายต่อเพื่อเรียก Traffic เข้า Website เราบ้างมั้ย เรียกง่ายคือ มีการบอกต่อมั้ย?

เปรียบเสมือนกับหนังสือเล่มนึง ทำหน้าปกมาสวยมากแต่คนอ่านแล้วไม่บอกต่อ หนังสือเล่มนั้นก็ไม่มีทางได้ขึ้นเป็น Best Seller ได้ ดังนั้นการทำ Content ที่มีคุณภาพช่วยให้คนนำเนื้อหาเหล่านี้ไปใช้ต่อได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

โดย Google ใช้กระบวนการ Search Quality Evaluation ในการจัดลำดับในเรื่องนี้ และถ้ามีหลายๆ Website ที่มี่ Content คล้ายหรือเหมือนกัน Website ที่มี User Experince ที่ดีกว่า ได้ Ranking ที่ดีกว่า

4.ความสะดวกต่อการใช้งาน ของ Webpages

Webpage ไหนที่มอบ User Experience ได้ดีกว่า จะมี Ranking ที่ดีกว่า Google เรียกส่งนี้ว่า “The Page Experienced Ranking Factor” หรือประสบการณ์ในการใช้งาน Page หลายคนคงงงว่าเจ้า Better User Experience หมายถึงอะไร?

Better User Experience หมายถึง Mobile-Friendly หรือเป็นมิตรกับคนใช้งานโทรศัพท์มือถือ เช่น Page Speed ไม่ตก โหลด Content ได้รวดเร็ว เป็นต้น

5.Context และการตั้งค่าต่างๆ

ข้อมูลต่างๆ เช่น Location, ข้อมูลการค้นหาในอดีต และ Search Setting ช่วยให้ Search algorithm ส่งผลลัพธ์ที่มีประโยชน์ต่อผู้ค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น

ข้อมูลประเทศ หรือเมือง ช่วยให้ผลลัพธ์ออกมาดีขึ้น เช่น ถ้าเราไปเที่ยวเชียงใหม่แล้วนั่ง Search ข้อมูลเกี่ยวกับร้านกาแฟ เราก็ต้องการข้อมูลร้านกาแฟที่อยู่ในเชียงใหม่


มารู้จักส่วนต่างๆ ในหน้า SERPs กันเถอะ!

Search Engine Results Pages (SERPs) คือ หน้าผลลัพธ์การค้นหาปรากฏหลังจากพิมคำค้นหาเสร็จสิ้น

  • Paid คือ ผลลัพธ์ส่วนบนสุดของการ Search (มีคำว่า Ad นำหน้า)
  • Search listings คือ ผลลัพธ์ส่วนถัดมาของการ Search
SERPs Component
SERPs Component by Google
  • Feature Snippet คือ กล่องพิเศษที่แสดงผลข้อมูล แสดงผลต่อเมื่อ Algorithm จัดรูปแบบให้ หรือมองว่าผู้คนอ่านได้ง่ายกว่าเมื่อค้นหาสิ่งนี้ เป็น Feature ที่ไม่ต้องเสียเงิน
Feature Snippet
Feature Snippet by Google
  • Rich results คือ Feature ที่ช่วยอธิบายข้อมูลเกี่ยวกับ Website ข้อมูลเหล่านี้ช่วยแสดงผลข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมในหน้า SERP ถ้า Website ของเราเป็น Product-based ข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมของสินค้าถูกแสดงในส่วนนี้ด้วย
    เช่น รีวิวสินค้า จำนวนดาวที่ได้ ราคาและสถานะสินค้าในสต๊อก
Rich Results
Rich Results by Google
  • Image คือ รูปภาพของสินค้า ซึ่ง Google มองว่าการที่แสดงผลเป็นรูปภาพค่อนข้างมีคุณค่ามากสำหรับหน้า SERPs รูปภาพโผล่ได้ทุกตำแหน่ง ตั้งแต่ด้านบน ตรงกลาง และด้านล่าง และไม่ต้องเสียเงินในการใช้งาน
Image
Image by Google
  • Video คือ Feature ที่แสดงผลต่อเมื่อระบบเชื่อว่ามีแล้วส่งผลดีหรือคุณค่าให้การค้นหาข้อมูล สามารถโผล่ได้ทุกตำแหน่งเช่นเดียวกับ Image
Video
Video by Google
  • Local Results คือ Feature ที่โผล่ขึ้นมาเมื่อเราค้นหา Local businesses ส่วนประกอบที่เด่นที่สุด คือ แผนที่และรายชื่อร้านค้าที่อยู่ย่านๆ นั้น Profile ของทุกๆ ธุรกิจจะใช้งานได้ถ้ามีลูกค้าแบบ Local ซึ่งรายละเอียดของร้านมักแสดงผลอยู่ด้านขวาของหน้า SERPs แอดลองยกตัวอย่างร้านเจ้ไฝให้ดู

SEO

SEO คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญนัก?

SEO ย่อมาจาก Search Engine Optimization คือ กระบวนการเพิ่มการแสดงผลของหน้าต่างๆ ของ Website บน Search Engines เพื่อดึงดูด Traffic ที่มีคุณภาพเข้าสู่ Website

สิ่งที่ควรทำก่อน SEO

  • รู้เป้าหมายของ Website หรือองค์กร
  • รู้จักลูกค้า รู้ว่าเค้ามี Demographics แบบไหน มีความชื่นชอบอะไร
  • ทำ Content โดยคิดถึงผู้คนเป็นอันดับแรก

    Content Marketers ที่ดีจะไม่สร้าง Content เพื่อผลลัพธ์การ Search เป็นอันดับแรกแต่จะสร้าง Content เพื่อผู้คนเป็นอันดับแรก และผลลัพธ์การ Search เป็นอันดับสอง
  • รู้จักคู่แข่งเป็นอย่างดี ถ้าอยากสร้าง Content ให้ชนะคู่แข่งเราต้องเรียนรู้ว่าเค้าสร้าง Content แบบไหน จากนั้นเราก็ทำ Content ให้ดีกว่าคู่แข่ง

สิ่งที่ควรทำเกี่ยวกับ SEO

  1. ทำ Keyword Research
  2. จัดโครงสร้างของ Pages ต่างๆ บน Website
  3. พัฒนาเรื่อง Content

1.ทำ Keyword Research

Keyword Research คือ กระบวนการค้นหาคำต่างๆ ที่ผู้คนใช้ใน Search Engine มี website https://nerdoptimize.com/ เขียนบทความนึงเกี่ยวกับสิ่งนี้ไวละเอียดยิบลองอ่านเพิ่มเติมได้ คลิก

การทำสิ่งนี้ช่วยให้เรารู้ว่าคนใช้คำไหนบ้างเพื่อค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวกับ Website ประเภทเดียวกับเรา เราจะได้เลือกใช้คำเหล่านั้นบน Website เพื่อให้เราไปปรากฏอยู่อันดับต้นๆ ในหน้า SERPs

2.จัดโครงสร้างของ Pages ต่างๆ บน Website

Site Structure คือ โครงสร้างของ Website เป็นส่วนหนึ่งของเทคนิค SEO การวางโครงสร้างแบบมีลำดับขั้น (Hierachy) ชัดเจน ช่วยให้

  1. Google Crawl หน้าต่างๆ ใน Website เราได้ง่ายขึ้น
  2. โครงสร้าง URL อ่านง่ายและรู้เรื่อง
  3. พัฒนาประสบการณ์ของ User ให้ใช้งานง่าย หาสิ่งที่ต้องการเจอได้อย่างรวดเร็ว การเข้ามาบน Website เปรียบเสมือน User เดินเข้าร้านค้าแบบ Offline ถ้าเค้าหาสิ่งที่เค้าต้องการไม่เจอ เค้าก็เดินออกไป
Site Structure
Site Structure by Google

ตัวอย่างการวาง Structure ของ Website ร้านขายหนังสือ

Website Structure
Book’s Website Structure by Google

ตัวอย่างการใช้ Breadcrumbs ช่วยในการท่อง Internal Links

Breadcrumbs คือ การโรยขนมปังของนักเดินทางเพื่อไม่ให้หลงทางขากลับ Website จึงนำเทคนิคนี้มาใช้ในการทำ Navigation

Breadcrumbs
Book’s Website Breadcrumbs by Google

Website Structure And Navigation

  • ใช้ https:// ถ้าเป็นไปได้ เพราะช่วยเพิ่มความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือให้กับ Website
  • สร้าง Navigation Page สำหรับ Users
  • ใช้ 404 Pages ให้เป็นประโยชน์

    ถ้าเราทำการ Revamp Website ใหม่ Users ของเราอาจเคย Bookmark หน้าเก่าๆ ของเราเอาไว้ เมื่อเค้าย้อนกลับมาก็อาจพบกับ 404 Pages ที่แปลว่าหน้านั้นไม่มีอยู่อีกต่อไปแล้ว เราควรทำการ Redirect หน้านั้นไปยังหน้าที่ถูก Revamp แล้ว หรือแปะ Link ใหม่ เพื่อให้เค้ากลับมาหาเราได้ถูกช่องทาง

3.พัฒนา Content บน Website

  • ทำให้ Website มีประโยชน์และน่าสนใจ เพื่อให้คนบอกต่อ ยุคนี้การใช้ Campaign Refer เพื่อนๆ ให้เข้ามาใช้งาน App หรือ Website มีอยู่แพร่หลาย ดังนั้นประโยชน์และความน่าสนใจจึงสำคัญมาก
Refer your friends
Refer your friends by Google
  • รู้ความต้องการของคนที่เข้ามา Website และให้สิ่งนั้นกับพวกเค้า ต้องมั่นใจว่า Content ของเราอ่านง่ายและเขียนได้อย่างถูกต้อง (อ่านง่ายมั้ยยย) ที่สำคัญ Content ของเราต้องสดใหม่ และมีความ Unique (เชื่อว่ายังไม่มีใครเขียนแบบนี้แน่นอน ช่วยอ่านและแชร์กันด้วยน้า T_T)
  • สร้างความไว้วางใจให้กับผู้ใช้
  • ทำให้มีความเชี่ยวชาญและความเชื่อถือได้อย่างชัดเจน ข้อนี้ถ้าเรามีความรู้ไม่เพียงพอ สามารถให้ผู้เชี่ยวชาญหรือเป็นที่รู้จักในด้านนั้นๆ มาช่วยผลิต Content ได้
  • เตรียม Content ให้เหมาะสมและเพียงพอในแต่ละเรื่อง มั่นใจว่า Content ถูกต้อง เขียนได้ชัดเจนและครอบคลุม

Google Image Best Practices

  • สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับ Users โดยแสดงผลรูปภาพให้เหมาะกับทุก Device
Responsive Images
Responsive Images by Google
  • ใส่ Title และคำอธิบาย รวมถึงตั้งชื่อให้เหมาะกับรูปภาพ
  • ใส่คำอธิบายใน Alt Text เน้นที่การสร้างเนื้อหาที่มีประโยชน์และมีข้อมูลครบถ้วนโดยใช้ Keywords อย่างเหมาะสม
  • ปรับปรุงเรื่องความเร็วในการ Load รูปภาพ โดยเข้าไปตรวจสอบที่ Page Speed Insights เข้าไปแล้วลองพิมพ์ url ของ Website ที่ต้องการ ผลลัพธ์จะออกมาแบบในรูป
Page Speed Insight

ทำให้ Website เป็น Mobile-Friendly

ยุคนี้โทรศัพท์มือถือ เป็นปัจจัยที่ 5 ของทุกคนไปแล้ว ดังนั้น Website ของเราควรเป็น Responsive เข้ากับทุกอุปกรณ์ เพื่อง่ายต่อการใช้งานของ Users

Mobile-friendly
Mobile-friendly by Google

เข้าไปตรวจสอบ Mobile-Friendly ให้ Website ของตัวเอง ได้ที่นี่

Mobile-friendly Test
Mobile-friendly Test by Google
Mobile-friendly Result
Mobile-friendly Result by Google

การใช้งาน Webpage Title Element

สื่อให้ทั้ง Users และ Search Engines ต่างๆ รู้จักว่า Webpage เกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร

สิ่งที่ควรทำเกี่ยวกับ Page Title

  • ควรตั้ง Page Title ให้ตรงกับ Content ในหน้านั้นๆ และไม่ควรตั้งแบบขอไปที เช่น “Untitled” หรือ “New Page1”
  • ต้องมั่นใจว่าทุกๆ Page มี Titile Page ที่ไม่ซ้ำกัน
  • สั้นแต่ได้ใจความ

Google Search Console

Google Search Console คือ เครื่องมือที่ใช้วัดผลเรื่อง SEO ลองเข้าไปใช้กันได้ ที่นี่

ขั้นตอนในการใช้งาน Search Console แบบมีประสิทธิภาพ

  1. สร้างและ Verify การเป็นเจ้าของ Website
Add and verify website  ownership
Add and verify website ownership by Google
  1. ต้องมั่นใจว่า Google สามารถค้นหาและอ่าน Webpages ของเราได้ สังเกตจากเมนู Coverage ว่ามีหน้าไหนที่เป็น Error ไหม
Find the error pages
Find the error pages by Google
  1. ดูว่ามีปัญหาเรื่องการใช้งานกับ Mobile บ้างหรือเปล่า โดยเข้าไปที่ Mobile Usability
Mobile Usability
Mobile Usability by Google
  1. Submit Sitemap ของ Website

Sitemap คือ ไฟล์ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับ Webpages, Videos และไฟล์อื่นๆ ที่อยู่บน Website รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ ของ Webpages

  1. คอยดู Performance ของ Website อยู่สม่ำเสมอ

SEM

SEM คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญนัก?

SEM ย่อมาจาก Search Engine Marketing คือ สิ่งที่ช่วยเพิ่มการแสดงผลของสินค้าและบริการในหน้าผลลัพธ์การ Search โดยใช้การจ่ายค่าโฆษณา

PAy-Per-Click (PPC) Advertising

PPC คือ ชนิดของโมเดลโฆษณาที่ธุรกิจต่างๆ จ่ายเงินเมื่อมีคนคลิกโฆษณานั้นๆ ทำให้เราประหยัดเงินกว่าการจ่ายค่าโฆษณาแบบดั้งเดิม

Google มีเจตนาที่จะแสดงผลโฆษณาที่ถูกต้องให้กับ Users เพื่อให้โฆษณานั้นถูกคลิกและธุรกิจต่างๆ ก็ต้องจ่ายเงินให้ Google

ถ้าเราลองเปรียบเทียบกับการจ่ายเงินเกี่ยวกับการโฆษณาแบบออฟไลน์ เช่น นิตยสาร ธุรกิจต่างๆ ต้องจ่ายเงินก้อนโตเพื่อซื้อพื้นที่ในการโฆษณา และที่สำคัญคือ เราไม่สามารถเก็บข้อมูลสิ่งที่ผู้อ่านทำกับหนังสือได้เลย ลองดูตัวอย่าง Ads ข้างล่าง

PPC Ads
PPC Ads by Google

ความเจ๋งของ SEM

  • เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่คล้ายกันได้ หมายถึงเราสามารถแบ่งกลุ่มเพื่อยิงโฆษณาได้
  • ดัน Website ของเราขึ้นสู่จุดสุดยอด ก็คือดันสู่อันดับต้นๆ ของหน้า SERPs โดยใช้เวลารวดเร็วกว่า SEO ด้วยพลังเงินนั่นเอง
  • รู้ข้อมูลเชิงลึกว่า Ads ไหนที่ช่วยเพิ่มยอด Sale หรือยอด Awareness เพื่อกำหนด Campaign ให้เหมาะกับจุดประสงค์ได้ดีขึ้น
  • ควบคุมได้ว่าจะส่งโฆษณาไปโผล่ ณ จุดไหนของคนที่กำลังค้นหาข้อมูล เช่น การตั้ง Keyword Type เพื่อให้ตอบรับกับการ Search

ประเภทของ Ads

1.Text Ads

Text Ads เป็นประเภทของโฆษณาที่มีมานาน ประกอบด้วยข้อความและ Link ให้คลิก โดยมี Title อยู่ด้านบน แล้วตามด้วย Description หรือ คำอธิบายเพื่อโฆษณาสั้นๆ ที่ควรทำให้ผู้ค้นหาอ่านแล้วเข้าใจได้ทันที ว่าพูดถึงเรื่องอะไร

Text Ads
Text Ads by Google

2.Shopping Ads

Shopping Ads เป็นโฆษณาสำหรับธุรกิจ E-Commerce แสดงผลสินค้าและรายละเอียดสินค้า โดยสินค้ามักคละกันจากหลายๆ ร้าน

Shopping Ads
Shopping Ads by Google

3.Local Services Ads

Local Service Ads เป็นโฆษณาที่คล้าย Text Ads แตกต่างกันตรงที่แสดงผลรูปภาพในหน้า SERPs ด้วย และเป็น Ads พิเศษสำหรับธุรกิจต่างๆ ถูกคัดสรรจาก Google เองโดยหากถูกยืนยันแล้วว่าธุรกิจนี้ถูกกฎหมาย จะได้เครดิตเพิ่มเติมเพื่อเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น

Local Services Ads
Local Services Ads by Google

4.Google Maps Ads

Google Map Ads เป็นโฆษณาที่คล้ายกันกับ Local Service Ads แต่ใช้ได้ดีกับธุรกิจที่เป็นสินค้าและบริการในท้องที่นั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ร้านอาหาร, ฟิตเนส โดยมีข้อมูลรีวิว รูปภาพรวมถึงพิกัดบน Google Maps ด้วย

Google Maps Ads
Google Maps Ads by Google

5.Call Ads

Call Ads เป็นโฆษณาที่โผล่ขึ้นมาก็ต่อเมื่อมีคน Search โดยใช้โทรศัพท์มือถือ และโฆษณาประเภทนี้ก็กลายเป็นที่นิยมอย่างมาก เพราะแทนที่จะเสียเวลาอ่านก็กดโทรถามได้ทันทีไวกว่าเยอะ

Call Ads
Call Ads by Google

Google Ads

Google Ads คือ เครื่องมือเพื่อใช้ยิงโฆษณา สร้างโดย Google

ขั้นตอนในการสร้าง Google Ad

  1. กำหนดเป้าหมายของ Campaign เช่น เพื่อยอดขาย, เพื่อเก็บข้อมูลลูกค้า, เพิ่ม Traffic บน Website เป็นต้น
Campaign Objective Selection
Campaign Objective Selection by Google
  1. เลือกประเภทของ Campaign เช่น Shopping, Search เป็นต้น
Campaign Type Selection
Campaign Type Selection by Google
  1. ตั้งงบประมาณในการยิงโฆษณา โดยกำหนดได้ว่าต้องการใช้งบเฉลี่ยวันละเท่าไหร่
Budget Setting
Budget Setting by Google

ในช่วงเวลาที่ยิงโฆษณาอาจมีปริมาณคนกดมากน้อยแตกต่างกันในแต่ละวัน การตั้งค่างบเฉลี่ยช่วยควบคุมช่วงเวลาโดยรวมได้ ลองดูรูปตัวอย่าง

30 Days Budget
30 Days Budget by Google
  1. เลือกกลยุทธ์การ Biding (การประมูล) เป็นการกำหนดว่าเราอยากโฟกัสอะไรในการ Bidding ครั้งนี้ เช่น เพื่อเพิ่ม Conversions, เพื่อจำนวน Clicks เป็นต้น
Biding Strategy
Biding Strategy by Google
  1. เลือกกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้เห็นโฆษณา ภาษาที่มักใช้คือ Audience segments โดยเลือกได้ว่าอยากยิงโฆษณาไปที่กลุ่มคนที่สนใจเรื่องใดเป็นพิเศษ อาจเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสินค้าและบริการของเรา
Target Selection
Target Selection by Google
  1. สร้างโฆษณา กำหนด Headline, URL และ Keywords ต่างเพื่อให้คนค้นหาเจอง่ายที่สุด
Ads Creation
Ads Creation by Google
  1. ตั้งค่า Conversions โดยตั้งว่าใช้อะไรเป็นตัววัดประสิทธิภาพของโฆษณา โดยสามารถ Link เข้าไปที่เครื่องมือที่ชื่อว่า Google Analytics เพื่อวัดผลใน Metrics ต่างๆ ควบคู่กับ Traffic บน Website ด้วย

Google Ad in Search Best Practice

  • ใส่ Keyword อย่างน้อย 1 คำลงไปใน Ad Group บน Headlines
  • หลีกเลี่ยงการใช้คำที่เน้นขายอย่างเดียว
  • ปรับปรุง Landing Page ให้ดีอยู่เสมอ ให้มีเนื้อหาตรงกับโฆษณาและมีความง่ายต่อการใช้งาน

Display Ads

Display Advertising คือ โฆษณาที่เน้นการแสดงผลรูปแบบภาพที่ปรากฏบน Website หรือ Application

Display Ads
Display Ads By Google

ประเภทของ Google Display Ads

  1. Uploaded
  2. Responsive

Uploaded

เราสามารถสร้างโฆษณาที่เป็น Graphic รูปแบบต่างๆ เพื่อตอบโจทย์ตามขนาดและรายละเอียดที่กำหนดไว้ จากนั้นค่อย Upload Graphic ที่ว่าขึ้นไปบน Ads หลักๆ มี 3 ประเภท คือ Banner, Leaderboard และ Skyscraper

Uploaded Display Ads
Uploaded Display Ads by Google

ข้อเสีย คือ ต้องใช้ทีม Graphic ในการทำรูปภาพตามขนาดที่กำหนดในแต่ละประเภททำให้เสียเวลาค่อนข้างมาก

Responsive

เราแค่ Upload รูปภาพต่างๆ, Headline, โลโก้, วีดีโอ และคำอธิบายต่างๆ เข้าไป จากนั้น Google Ads จะคิดแทนให้เราแบบอัตโนมัติและสร้าง Ad Combination ขึ้นมา หมายถึง Ads สำหรับ Website, Application, Youtube และ Gmail โดยไม่ต้องไปนั่งควบคุมขนาดให้มันเอง คนส่วนมากจึงใช้ Responsive เพราะ

  1. ประหยัดเวลาในการทำงาน
  2. เข้าถึงคนได้มากกว่า หลากหลาย Platform
  3. ใช้งานร่วมกับวีดีโอได้
Responsive Display Ads
Responsive Display Ads By Google

Responsive Display Ad Best Practices

  • ใช้ 5 Headlines, 5 Images และ 5 Descriptions
  • สร้าง Display แบบไม่ซ้ำกันเลย
  • ต้องทำให้มั่นใจว่ามี Landing Page ตอบโจทย์ทุก Ads เพื่อรักษาคนไว้
  • เปลี่ยนหรือสลับ Display ใหม่ๆ ทุกสัปดาห์ หลีกเลี่ยง Ad fatique

Ad Fatique คือ เมื่อมีคนเห็นโฆษณาอันเดิมๆ ของเราบ่อยเกินไปแล้วรู้สึกว่ามันน่าเบื่อ เมื่อเจอบ่อยความสนใจก็ลดลง

Tips ในการทำรูปต่างๆ ด้วย Responsive Display Ads

  • ใช้รูปภาพที่ชัดเจนเห็นรายละเอียดครบ ไม่เบลอ
  • ไม่นำ Logo, ข้อความ, ปุ่ม ใส่ลงไปในรูป
Do and Don't Display Ads
Do and Don’t Display Ads by Google
  • ให้สินค้าเป็นจุดสนใจหลักของรูป ถ้าสัก 80% ได้ยิ่งดี
Product  Focus on Display Ads
Product Focus on Display Ads by Google
  • ควรทำพื้นหลังให้เข้ากับสินค้า เช่น แจกันดอกไม้ไม่ควรไปอยู่บนอวกาศ นกไม่ควรอยู่ในน้ำ
Background  Suits the Product
Background Suits the Product by Google

Course Summary

คอร์สนี้เน้นไปที่ Stage Awareness สร้างการรับรู้และการมีอยู่ของ Brand ให้ผู้คนที่ค้นหาข้อมูล ตั้งแต่ Search Engine, SEO, SEM รวมถึงประเภทของ Ads ต่างๆ หวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์จากบทความนี้ไม่มากก็น้อย ฝากติดตามบทความต่อไปด้วยน้า

  1. Foundations of Digital Marketing and E-commerce < คลิกอ่านตอนที่แล้ว
  2. Attract and Engage Customers with Digital Marketing
  3. From Likes to Leads: Interact with Customers Online
  4. Think Outside the Inbox: Email Marketing
  5. Assess for Success: Marketing Analytics and Measurement
  6. Make the Sale: Build, Launch, and Manage E-commerce Stores
  7. Satisfaction Guaranteed: Develop Customer Loyalty Online

Follow Me !

Knowledge is everywhere, Take your first step !

 2,784 total views,  6 views today