สรุปคอร์ส : Google Analytics for Beginners จาก Google Analytics Academy EP. 2

ขอเชิญทุกคนพับกบ เอ้ย พบกับ ตอนที่สองของคอร์ส Google Analytics for Beginners ขอบพระคุณและกราบแทบอกทุกท่าน ที่ยังติดตามอ่านกันอยู่

Course contents

EP.1 Unit 1: Introducing Google Analytics
EP.2 Unit 2: The Google Analytics Interface
EP.3 Unit 3: Basic Reports
EP.4 Unit 4: Basic Campaign and Conversion Tracking

Unit 2: The Google Analytics Interface

บทที่สองจะพูดถึงเรื่องราวของส่วนต่างๆ ของหน้าจอ พร้อมทั้งการใช้งานแต่ละส่วนให้เกิดประโยชน์ในการนำมาวิเคราะห์ธุรกิจด้วย

Lesson 1: Navigating Google Analytics

Lesson แรกจะเป็นการนำเพื่อนๆ เข้าสู่การ Demo GA ของ Google Merchandise Store อีกครั้ง ต่อจาก Unit 1 ในบทความตอนที่แล้ว จุดประสงค์ก็เพื่อให้เพื่อนๆ รู้ว่าอะไรอยู่ตรงไหน โดยการคลิกที่ Launch Guided Tour !! ไปเที่ยวกันนนนนนนนนน

รูปภาพ Demo Interface จาก Google Analytic Academy

Account Selector

Demo ส่วนแรกจะพูดถึง Account Selector ที่อยู่ Top Left ของหน้าจอ เพื่อนๆ จะเห็นว่ามีให้เลือกตั้งแต่ Accounts, Properties และ Views อยากจะดูอันไหนก็เลือกได้ตามใจชอบเลย

รูปภาพ แนะนำการใช้งาน Account Selector จาก Google Analytic Academy

Default Reports

Reports หลักๆ ของ GA มี 5 ตัว

  1. Real-Time : บอกพฤติกรรมของ users ที่อยู่บน website ณ เวลานั้น เช่น user เข้า website มากจากช่องทางไหน ผ่านทาง Source/Medium
  2. Audience : บอกข้อมูล demographic ของ users เช่น เพศ, อายุ, ภูมิภาค, ประเทศ รวมถึงสิ่งที่สนใจ ยังไม่พอแค่นั้นอะ บอกได้อีกนะว่าเป็น New หรือ Returning users (แอบน่ากลัวววว)
  3. Acquisition : บอกข้อมูลของ users ที่เข้ามาใน website ว่าผ่านช่องทางไหน จะเป็นทาง email , marketing campaign or any ยังไงแม่งก็บอกหมดอ่ะ
  4. Behavior : ตรงๆตัวเลย คือบอกพฤติกรรมของ user ว่ามาทำไรลับๆล่อๆ ยังไงบ้าง เช่น ส่องเพจไหนบ้าง, เพจไหนเปน Landing page + Exit page อีกอย่างที่น่ากลัวคือ บอกว่า users ค้นหาไรใน website จะกดปุ่มไหนอะไรยังไงก็บอก (หลอนนนนนนน)
  5. Conversions : ใช้เพื่อดูผลลัพธ์และความคืบหน้าของ Goals ที่เรากำหนด ให้ตรงตามประเภทธุรกิจ

Admin

จบที่การพาเราไปที่หน้าต่าง Admin ที่มีไว้ set up ค่าทุกๆ อย่าง เสมือนกับ Yggdrasil ของ Google Analytics ก็เลยได้ว่า เอ้ย ก็ว่าได้

รูปภาพ ส่วนของ Admin จาก Google Analytic Academy

Lesson 2: Understanding overview reports

ส่วนที่สองจะเป็นการ Demo รายละเอียดของ Overview Reports ต้องการให้เพื่อนๆ รู้ว่า Overview Reports จะมีอะไรบ้าง

Overview Reports (Audience)

รูปภาพ Overview Reports ของ Audience จาก Google Analytics Academy

เป็นการสรุปรวม Metrics ที่สำคัญๆ ของ Audience ซึ่งจะยึดจาก Date Range Selector ที่สามารถเลือกช่วงเวลาได้ตามใจชอบ (สามารถเทียบกันระหว่างสองช่วงเวลาก็ได้)

รูปภาพ Date Range Selector จาก Google Analytics Academy

อีกส่วนสำคัญที่ใช้หมุนข้อมูลนั่นก็ครืออ Metric Selector เป็นเครื่องมือเพื่อใช้เลือก Primary Metric ที่เราต้องการ แต่เท่านั้นยังไม่พอ !!! เพื่อนๆ ยัง วิเคราะห์ได้ลึกลงไปอีก จากการเลือก Secondary Metric เพื่อเพิ่มมิติของข้อมูลให้มากขึ้น

รูปภาพ Metric Selector จาก Google Analytics Academy

Hilight หลักๆ ของหน้านี้คือการสรุป Metrics ที่สำคัญๆ ของ Audience ทั้ง 8 ตัว

No.Metrics Description
1Usersจำนวน users ที่มีอย่างน้อย 1 session บน website
2New Usersจำนวน users ใหม่ที่เข้ามาใน website
3Sessionsจำนวน session ทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายใน Date Range
4No. of Sessions per Userจำนวน session ต่อ user
5Pageviewsยอดรวมจำนวนครั้งที่ users เข้ามาใน page รวมถึงการกลับมาดูหน้าเดิมของ users เดิมแต่คนละ session ด้วย
6Pages / Sessionจำนวน page เฉลี่ย ต่อ session ที่ users เข้าดู
7Avg. Session Durationเวลาเฉลี่ยต่อ session ที่ users ใช้
8Bounce Rate% ที่ users เข้ามาใน website แล้วไม่ได้ทำ action อะไรเลย
Metrics in Google Analytics
รูปภาพ Metrics ใน Audience reports จาก Google Analytics Academy

ทิ้งท้ายด้วย 2 Definitions สำคัญ ที่เพื่อนๆ อาจจะงงได้ (คนเขียนก็งง)

1. Dimensions

มิติของข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ ซึ่งต้องจับคู่กับ

2. Metrics

ข้อมูลที่แสดงผลเป็นตัวเลข

ตัวอย่าง Dimensions และ Metrics

Picture from Unsplash

ร้านค้าขายเสื้อยืด แบ่งเป็น สีแดง สีเขียว สีส้ม เราสามารถ Track ได้ว่ายอดขายของเสื้อยืดแต่ละสีมีจำนวนเท่าไหร่ สมมุติว่าขายได้ทั้งหมด 100 ตัว

100 นี้ คือ Metrics ของจำนวนเสื้อที่ขายได้ แล้วสีจะเป็น Dimension เพื่อแบ่งข้อมูลตามลักษณะของสี ดังนี้

Dimension & Metric

หากเราต้องการวิเคราะห์ให้ลึกมากขึ้น สามารถทำการเพิ่ม Dimension เข้าไปได้ ซึ่งใน Google Analytics เรียกว่า Secondary Dimension โดยการใช้ Metric Selector ที่พูดมาแล้วก่อนหน้านี้

ตัวอย่าง Primary and Secondary Dimensions, Metrics

ถ้าสมมุติว่าเราอยากรู้ว่าเสื้อที่ขายได้ใช้สำหรับลูกค้าเพศไหน ต้องเพิ่มเพศลงไปเป็น Secondary Dimension

Primary, Secondary dimensions & Metric

What benefit ?

จากตัวอย่างด้านบนเลย ถ้าเราเปิดร้านขายเสื้อ ก็ใช้ประโยชน์จาก Dimensions กับ Metrics ได้ จากการดูว่าเสื้อแบบไหนที่ขายดีที่สุด เพื่อจะได้เตรียมจำนวนได้เพียงพอต่อความต้องการของเหล่าลูกค้า อีกอย่างก็ไม่เปลืองไง สั่งมาทำไมเยอะแยะ ไอ้อันที่ขายไม่ดี โว๊ะ


Lesson 3: Understanding full reports

รูปภาพ Full Reports ของ Audience จาก Google Analytics Academy

หลังจากพาเพื่อนๆ ไปรู้จักกับ Overview Report เรียบร้อยแล้ว ถึงคิวของ Full Report บ้าง จะเห็นว่า details จะค่อนข้างเป็นเชิง Dimensions และ Metrics ซะเยอะและแบ่งเป็น 3 กลุ่มข้อมูล 1. Acquisition 2. Behavior 3. Conversion ทำให้ง่ายในการดูข้อมูลตาม Marketing Funnel ที่ได้เขียนไว้ในบทแรก เพราะตามธรรมชาติของมนุษย์เรามักจะกวาดสายตาจากซ้ายไปขวาอยู่แล้ว

ใน Lesson นี้ ขอเล่าถึงอันที่เด่นๆ นั่นก็ครืออออ Data Visualization !! แปลตรงๆ ก็คือการแสดงผลข้อมูลนั่นเอง หากเราวิเคราะห์ได้แต่ดั๊นนน แสดงผลผิดวิธี คนอ่าน Slide ก็จะงงได้ GA เค้าเก่งอีกแล้ว มีการแสดงผลข้อมูลให้เลือกหลายแบบ ไปดูกัลลล

Data Visualization

Picture from Unsplash

Data Table

เป็นการแสดงข้อมูลรูปแบบตารางที่เราเห็นๆ กันอยู่บ๊อยยย บ่อย เป็น default visualization ที่ GA เค้าจัดมาให้เลย (มองเยอะๆ แล้วมึนตึ้บ มีแต่เลข)

รูปภาพการแสดงผลแบบ Data Table จาก Google Analytics Academy

Pie Chart

ถ้าใครอยากได้กราฟวงกลมพอมีสีสันแบบกล้อมแกล้มให้เลือกอันเน่ ข้อดีของมันคือ ทำให้มองภาพใหญ่ๆ ได้ว่าสัดส่วนที่เป็น Majority เป็นอะไร สำหรับคนที่ต้องทำงานด๊วนด่วนนน สามารถ screenshot ไปแปะใน slide แบบไวๆ ได้

รูปภาพการแสดงผลแบบ Pie chart จาก Google Analytics Academy

Bar Chart

อันนี้เป็นกราฟแท่งแนวนอน ถ้าใครอยากดู Trends ของข้อมูล ว่าอันไหนเด่น-ด้อย หรือ ถ้าเพื่อนๆ รีบก็สามารถ screenshot ไปแปะแบบไวๆ ได้เช่นกัน

รูปภาพการแสดงผลแบบ Bar chart จาก Google Analytics Academy

  • Comparison

อันนี้โดยส่วนตัวแล้วชอบมากกกก เพราะไม่ต้องเสียเวลาหา Average แล้วต้องมาคอยทำ Condition formatting ต่อเพื่อแบ่งสีกราฟให้ดูง่าย เพราะ GA เค้าจัดให้แบบงามๆ เลยจ้า

ขีดตรงกลางจะเป็นค่าเฉลี่ยของ metric users ใน website ทั้งหมด ซึ่งแต่ละแถวจะถูกแบ่งโดย Dimension(Country) จากนั้นตัว Comparison จะแสดงให้เห็นว่า Metric ของ Dimension ในแต่ละแถวมีค่ามากหรือน้อยกว่าค่าเฉลี่ยทั้งหมด แถมยังแบ่งสีให้แบบ Cool Cool !!

รูปภาพการแสดงผลแบบ Comparison จาก Google Analytics Academy

Pivot Table

“ใครทำ Pivot เป็น ก็ครองโลกได้ละ” เบนจามิน แฟรงคลิน (ไม่ได้กล่าวไว้) เป็นการหมุนข้อมูลที่หลายคนน่าจะเคยทำใน Excel หรือ Google sheet มาบ้างแล้ว หลักการก็เหมือนเคย แต่ไม่ต้องทำใน Excel ให้ยุ่งยาก

ตัวอย่าง

หากเพื่อนๆ อยากรู้ว่าจำนวน users และ sessions แต่ละช่วงอายุของแต่ละประเทศ มีเท่าไหร่กันบ้าง เพื่อนๆ ก็ทำการเพิ่ม Secondary Dimension (Pivot by) เป็น Age ลงไป และเลือก Metrics (Pivot metrics) เป็น Users และ Sessions แค่นี้เพื่อนๆ ก็จะได้คำตอบแบบตารางข้างล่างนี้แล้ว โอ้ยยย ง่ายเกินไปมั้ยเนี้ยย ไม่ต้องมี Excel ในเครื่องก็ไม่ต้องปวดหัวกันแล้ว

รูปภาพการแสดงผลแบบ Pivot Table จาก Google Analytics Academy

Lesson 4: How to share reports

Picture from Unsplash

วู้ววว ถึง Lesson 4 แล้วทุกคน ไวอย่างกะโกหก !!! ก่อนที่จะไปถึงเรื่องการ Share report อยากให้เพื่อนๆ มารู้จักกับ “Report Sampling rate” กันก่อนครับ

Report Sampling rate

Sampling คือ การสุ่มตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูล ตามหลักสถิติถือว่าเป็นตัวแทนของกลุ่มใหญ่ ผลที่ได้สามารถใช้แทนข้อมูลทั้งหมดที่มีได้ว่ามีทิศทางอย่างไร

หากเพื่อนๆ อยากรู้ข้อมูลเกี่ยวกับ Sample size ของ อ.Taro Yamane แอดทอยได้สรุปไว้ให้อ่านแบบง่ายๆ คลิกเข้าไปดูได้เลยจ้า > DataRockie

ใน GA สามารถเลือกได้ว่าต้องการแสดงผลจากข้อมูลแค่ Sampling (Faster response) หรือแสดงจากข้อมูลทั้งหมด (Greater precision) โดยคลิกที่โล่สีเขียวที่เห็นในภาพ

รูปภาพ Sampling rate selector จาก Google Analytics Academy

Logic การ Sampling ของ Google Analytics

Default reports

Audience, Acquisition, Behavior และ Conversions ไม่ได้ใช้การ Sampling

Ad-hoc reports

  • Analytics Standard

สามารถ Sampling ได้ประมาณ 500k sessions ภายใน Date Range ที่กำหนด ในบางสถานะการณ์ก็อาจจะต่ำกว่านั้น ขึ้นอยู่กับการกรองข้อมูลโดยใช้ View Filters หรือการสร้าง Segmentation ที่ซับซ้อน

  • Analytics 360

สามารถ Sampling ได้ประมาน 100 M sessions (โอ้ บร๊ะเจ้าาาาาาาาาา)

เมื่อไหร่ที่จะใช้ Sampling ?

Default reports

Reports ทั้ง 4 (Audience, Acquisition, Behavior และ Conversions) เป็น Standard reports ของ GA ซึ่งจะไม่ทำการ Filter ข้อมูลใดๆ เลย แม้ว่าเราจะทำการเปลี่ยนหรือเพิ่ม Dimension เข้าไป ไม่ว่าจะเป็น Analytics Standard หรือ Analytics 360 ก็จะไม่มีการ Sampling data มาใช้งาน

Ad-hoc reports

หรือเรียกให้เข้าใจง่ายก็คือ งานด่วน งานรีบบบบบ !! เช่น Reports ที่ถูกสร้างด้วยการใช้ Custom reports เพื่อสร้าง Dimensions และ Metrics ที่ไม่มีอยู่ใน GA จะใช้การ Sampling ข้อมูลเป็นสัดส่วนรายวันตาม Date range ที่กำหนด

ตัวอย่าง

ถ้าเพื่อนๆ กำหนด Date Range เป็น Monday ถึง Friday ระบบจะทำการ Sampling กลุ่มตัวอย่างมา 25% ในทุกๆ วัน ตามรูปภาพข่างล่าง

รูปภาพ Sampling Ad-hoc report จาก Google

เข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ GA data sampling

Share report

หลังจากเลือก Report Sampling rate (Fast response, Greater precision) เพื่อเลือกขนาดของข้อมูลที่จะใช้วิเคราะห์ได้แล้ว ก็มาสู่การ share report ให้คนในทีมหรือลูกค้าเข้ามาดูได้ด้วย (ฝากแชร์บทความนี้ด้วยยย)

Set up ได้หลายอย่างด้วย ทุ่นแรงคนขี้เกียจอย่างพวกเราได้เยอะมากกกก

  • Attachments (PDF, Excel, CSV) เลือกชนิดของไฟล์ที่ต้องการส่ง
  • Frequency (Once-Quarterly) เลือกความถี่ในการส่ง (ไม่ต้องมานั่งส่งเองให้ปวดหัว เลือกได้เป็น Q กันเลยทีเดียว)
  • Active for (1 month-12 months) เลือกว่าจะให้การ share นี้ active ไปนานแค่ไหน ถ้าขี้เกียจมานั่ง set จัดก็ซัดไปที่ 12 months เลยจ้า
รูปภาพการ Share report จาก Google Analytics Academy

Lesson 5: How to set up dashboards and shortcuts

Picture from Unsplash

Standard Dashboards ข้อมูลมันไม่พออออออ !!! ทำยังไงดี GA ก็เลยบอกว่า ก็สร้างมันเองเลยสิคร้าบบบ !! ด้วย Customization > Dashboards

รูปภาพ Customization จาก Google Analytics Academy

ลองสร้าง Dashboard ของตัวเองกันเลยยยย เมื่อเพื่อนๆ Create dashboard จะสามารถเลือกได้สองแบบ คือ Blank Canvas (หน้าโล่งๆ) กับ Starter Dashboard (มีกราฟและข้อมูลพื้นฐานมาให้) แล้ว Add widget ที่ต้องการเองได้เลย

รูปภาพ Create dashboards pop-up จาก Google Analytics Academy

หรือถ้าเพื่อนๆ คิดอะไรไม่ออกก็สามารถ Import from Gallery จากคนอื่นๆ ที่สร้าง dashboards แล้วทำการ share ไว้ ว่ากันว่าการ copy จะทำให้เราเริ่มได้เร็วขึ้นเยอะ 55555555 ใน Solution Gallery ก็มี Report template ด้วยยยย

รูปภาพ Dashboard Gallery จาก Google Analytics Academy

2 Types of dashboard

  1. Private ดูได้คนเดียว ก็คือคนสร้างเท่านั้น มีได้ 20 private dashboards/users
  2. Shared ดูได้ทุกคนใน view นั้น มีได้ 50 shared dashboards/view

ดังนั้นหลังจากสร้าง Dashboards เสร็จแล้ว เพื่อนๆ สามารถ share ลง Gallery ได้ แต่จะ share ได้เฉพาะ template เท่านั้น ส่วนข้อมูลไม่สามารถ share ได้


What we learn from Unit 2 ?

  • รู้จัก Default reports ของ Google Analytics
  • เข้าใจความหมายและการทำงานของ Dimensions และ Metrics
  • Data visualization
  • Sampling size
  • Share reports & dashboards

สามารถติชมหรือพูดคุยกันได้ https://www.facebook.com/Malonglearn หรือทิ้งคอมเม้นท์ไว้ด้านล่างนี้เลยจ้า

Loading