สรุปคอร์ส : Google Analytics for Beginners จาก Google Analytics Academy EP. 3
กลับมาต่อในตอนที่สามของ Google Analytics for Beginners !!
มาเกินครึ่งทางกันแล้ว !! ขอบคุณที่ยังติดตามอ่านกันอยู่ครับ หวังว่าเพื่อนๆ บางคนอาจจะเรียนนำหน้าจบคอร์สไปแล้วก็ได้ ลองมาดูสรุปเนื้อหาบทนี้กันเล้ยยย
Course contents
EP.1 Unit 1: Introducing Google Analytics
EP.2 Unit 2: The Google Analytics Interface
EP.3 Unit 3: Basic Reports
EP.4 Unit 4: Basic Campaign and Conversion Tracking
Unit 3 : Basic Reports
เนื้อหาในบทนี้จะแบ่งเป็น 3 Lessons ประกอบด้วย
- Lesson 1: Audience reports
- Lesson 2: Acquisition reports
- Lesson 3: Behavior reports
Lesson 1 : Audience reports
คือ ข้อมูลเบื้องต้นของ users ที่เข้ามาใน website และยังบอกได้อีก ว่า user ที่เข้ามาเป็นใคร ซึ่งจะแสดงข้อมูลออกมาในมิติที่ต่างกัน ในแต่ละ report
Active Users
และ report นี้จะบอกทุกคนว่า users ที่มีอย่างน้อย 1 session (ดูคำอธิบายได้ ที่นี่) เข้ามาใน website มีจำนวนเท่าไหร่ แบ่งเป็น 4 ช่วงระยะเวลา
- เมื่อวาน
- 7 วันที่แล้ว
- 14 วันที่แล้ว
- 28 วันที่แล้ว
GA จะเรียกสิ่งนี้ว่า “site reach” หรือ “stickiness” ถ้าหาก Marketing และ Content สามารถดึงดูด users ได้ Active users ควรจะเพิ่มขึ้นตามช่วงเวลา
Demographic

หรือเรียกกันในภาษาไทยว่า ข้อมูลด้านภูมิประชากรศาสตร์ เป็นลักษณะของกลุ่มตัวอย่างที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ในส่วนนี้จะแสดง 2 ลักษณะ คือ
- ช่วงอายุ แบ่งเป็น 6 ช่วง (18–24, 25–34, 35–44, 45–54, 55–64, 65+)
- เพศ (ชาย, หญิง)
ข้อมูล Demographic มีประโยชน์มาก สามารถนำไปใช้เพื่อคิด Business model ใหม่ๆ ให้ตรงตามลักษณะของ users ที่ใช้งานบน website รวมถึงทำ Marketing campaign ให้ตรงกับกลุ่มลูกค้าได้
Interests

ข้อมูลที่บอกถึงความสนใจในเนื้อหาที่เหล่า users ชอบเข้าไปดู (เพื่อนๆหายสงสัยกันรึยังว่าทำไม Google ถึงมี browser, Gmail, Youtube ที่ดูเหมือนจะฟรีให้เราได้ใช้กัน นี่ล่ะ คำตอบ สิ่งที่เราจ่ายให้เค้าคือข้อมูลข้องเราเอง และเค้าก็เอามาวิเคราะห์ต่อเพื่อคาดเดาความสนใจส่วนตัวของ users อีกที No free lunch!!!) โดยสามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วน
1. Affinity
แบ่งกลุ่มตามสิ่งที่ users สนใจ การเข้าไปดู content หรือการ search หาข้อมูลในด้านนั้นๆ เช่น เข้าไปดูเนื้อหาเกี่ยวกับเกมส์
2. In-Market
แบ่งกลุ่มตามสิ่งที่ users ซื้อ เช่น อุปกรณ์กีฬาหรือโทรศัพท์มือถือ
3. Other
แบ่งกลุ่มตามความสนใจของ users เฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น คนที่ชอบเล่นเกมส์บนโทรศัพท์มือถือ หากนำไปประกอบกับ Demographic จะช่วยให้สร้าง Marketing campaign ได้เฉพาะเจาะจงมากขึ้นอีก
Geo
Location

จะแสดงผลเกี่ยวกับพื้นที่ที่ users อาศัยอยู่ มีการแสดงผลแบบแผนที่และมีการใช้สีแบบ Heat map (ความเข้มของสีบนแผนที่จากน้อยไปมากขึ้นอยู่กับจำนวนของ metric) ทำให้เพื่อนๆ จะรู้สึกว่าดู Report ง่ายขึ้น
และสามารถแบ่งได้หลายชั้นข้อมูล เช่น Continent, Sub-continent, Country, City เป็นต้น ซึ่ง GA แยกตำแหน่งที่อยู่อาศัยของ users จาก IP Address ที่ส่งมาโดย Web Browser เพื่อช่วยเพื่อนๆ ในการตัดสินใจว่าควรลงทุนพื้นที่ใด
Language
บอกได้ว่าภาษาที่ users ใช้บน browser เป็นภาษาใด ช่วยให้เพื่อนๆ ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าควรทำ content หรือ ads ภาษาไหนบ้าง แถมยังต่อยอดให้มีการทำ content เฉพาะท้องถิ่นได้อีกด้วย

Behavior
จุดเด่นของส่วนนี้จะเป็น New vs Returning บ่งบอกพฤติกรรมของ users เบื้องต้นว่าเป็น users ใหม่หรือ users เดิมที่กลับมาดูซ้ำ เราสามารถ Plot สองแบบลงบน line graph เพื่อให้มองเห็นชัดเจนในแต่ละช่วงเวลามากขึ้น
Tips : GA จะแบ่งเป็น New และ Returning usersโดยฝัง cookies ไว้ใน web browser ของ users หาก users มีการ clear cookies บน browser เมื่อ users กลับมายัง website จะถูกมองว่าเป็น New users ไปโดยปริยาย (ทำไงได้ล่ะ 55555)
ข้อมูลส่วนนี้จะช่วยในการวิเคราะห์ Royal customer ได้ เขียนถึงตรงนี้แล้วอยากแทรกบทความในเพจ DataRockie เกี่ยวกับ เทคนิคการวัด Brand Loyalty ตามหลัก Marketing Science ตามไปอ่านกันได้เลยยยย
Technology

Browser & OS
บอกรายละเอียดเกี่ยวกับ ยี่ห้อของ Internet browser, Operating System, ความละเอียดของหน้าจอ, ชนิดสีของหน้าจอ รวมถึง Version ของ Flash เพื่อนๆ สามารถเปลี่ยน Primary dimension เพื่อดูในมิติต่างๆ
ข้อมูลส่วนนี้จะช่วยให้เพื่อนๆ พัฒนา website ให้เข้ากับ users ที่ใช้งาน เช่น การออกแบบ website ให้เข้ากับ resolution รวมถึงทดสอบในทุกๆ Browser ที่ users ใช้งาน
Network
บอกรายละเอียดของ ISP (Internet Service Provider) ถ้าเป็นของบ้านเราก็เป็น True, Ais Fibre, 3BB อะไรประมาณนี้ครับ
Mobile

Overview
ด้วยความที่ปัจจุบันเรามีอุปกรณ์มากมายในการเข้าถึง website จึงต้องแบ่งประเภทออกมาเป็น 3 ประเภทหลัก (Desktop, Mobile, Tablet)
เพื่อนๆ สามารถดูแนวโน้มการเติบโตของการใช้งาน website จาก desktop ไปสู่ mobile ได้ เพื่อที่จะวางแผนออกแบบ website ให้ง่ายต่อการใช้งานบน mobile และต่อยอดทำ Mobile application ได้

Device
เพื่อนๆ สามารถดูลึกลงไปถึงยี่ห้อและรุ่นของอุปกรณ์ต่างๆ ในแต่ละกลุ่ม ซึ่งข้อมูลส่วนนี้สามารถช่วยเพื่อนๆ ได้มากขึ้น หากจะจ้างทีมออกแบบ Mobile application บนอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้ตรงตามการใช้งานของ users จะเห็นว่า users ส่วนมากจะใช้งาน Apple iphone ถ้าจะออกแบบ Mobile application ควรจะเริ่มจาก iOS ก่อน Android
Lesson 2: Acquisition reports
หลังจากที่เรารู้เบื้องต้นแล้วว่า users เป็นใคร มีลักษณะอย่างไร ทีนี้เราลองมาดูกันบ้างว่า users เข้ามาที่ website ของเราผ่านช่องทางไหน
ข้อมูลส่วนนี้จะช่วยให้เพื่อนๆ เห็นว่าช่องทางไหนที่ดึงดูด users และเปลี่ยน users ให้กลายเป็น customers ได้มากที่สุด ซึ่งช่วยในการตัดสินใจว่าจะลงทุนอัดฉีดเม็ดเงินสำหรับ Marketing campaign ในช่องทางไหนดี
ก่อนที่จะลงไปดูรายละเอียด เพื่อนๆ คงจำได้ว่า GA จะแปะ Tracking code ลงไปบนหน้า website จากนั้นเมื่อ users เข้ามาถึง website ตัว Tracking code จะส่งข้อมูลที่มาของ users ไปที่ GA ซึ่งประกอบด้วย Source, Medium และ Campaign name
Source / Medium
Source
เปรียบเหมือนวิธีที่ users เข้า สู่ website
Medium
เปรียบเหมือนพาหนะที่ users ใช้เข้าสู่ website หลักๆ แบ่งได้ 5 ประเภท
- Organic : มาจากการค้นหาบน search engine ต่างๆ ที่ไม่ใช่ Ads หรือเรียกว่า Unpaid search
- CPC (cost-per-click) : มาจากการคลิกผ่าน Ads เข้ามา หรือ Paid search
- Referrals : เป็นการคลิก Link เข้ามาผ่านทาง website ที่ไม่ใช่ search engine ยกตัวอย่างบทความด้านบนที่ Link ไปที่ Web DataRockie
- Email : มาจากการคลิกผ่าน Link หรือ Banner Marketing Campaign ทางอีเมล
- None : มาจากการที่ users เปิด Browser ขึ้นมาแล้วพิมพ์ชื่อ URL เอง

ยกตัวอย่างจากภาพ Source/Medium
- Source = google / Medium = organic
วิธีเข้าสู่ website คือ search engine (organic) และพาหนะที่พาเข้ามาคือ google - Source = (direct) / Medium = (none)
ตัวอย่างของการไม่มีพาหนะ คือพิมพ์ URL เข้ามาตรงๆ เลย - Source = youtube.com / Medium = referrals
วิธีเข้าสู่ website คือ referrals และพาหนะที่พาเข้ามาคือ youtube.com
การใช้ Source/Medium ร่วมกัน จะทำให้เพื่อนๆ เห็นว่า website ไหนที่เหมาะกับการทำโฆษณาหรือเล่น Marketing campaign เพื่อดึง users เข้ามาใน website ได้มากที่สุด
Channels

อีก 1 รูปแบบในการจัดกลุ่มของช่องทางที่ users เข้าสู่ website ของเพื่อนๆ สามารถใช้ร่วมกับ Medium ได้ โดยจะมีการจัดกลุ่มที่ต่างไปจากเดิมโดยเพิ่ม Organic Search, Paid Search, Social, Display เพื่อรองรับการวิเคราะห์หลายแง่มุมมากขึ้น

ถ้าลงคลิกไปที่ Social จะแจกแจงเป็นราย Social Network เรียกได้ว่ารู้หมดว่ามาจากไหน ในแต่ละ report ของ Channels จะมีรายละเอียดแจกแจงใน Dimension นั้นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ข้อมูล นำไปต่อยอดทำการตลาดได้หลายรูปแบบ ซึ่งในส่วนของ Channels สามารถปรับแต่งและสร้างกลุ่มใหม่ได้ มีวิธีสอนอยู่ในคอร์ส Advanced ด้วย
Referrals

ในส่วนนี้จะลงรายละเอียดจาก Medium ที่มีค่าเป็น referrals โดยจะแสดงข้อมูลเป็นราย website สามารถใช้วิเคราะห์ร่วมกับ secondary dimension เพื่อให้เกิดไอเดียใหม่ๆ อาจมองเห็น insight แปลกๆ จากข้อมูลส่วนนี้ได้
Lesson 3 : Behavior reports
ทุกๆ ครั้งที่ users โหลดหน้า page บน website ตัว Tracking code จะทำการส่ง Pageviews เข้า GA เพื่อใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมของ users บน website
Site Content
ส่วนนี้จะบอก traffic ที่เกิดขึ้นภายใน website โดยลงรายละเอียดเป็นราย page เพื่อให้เพื่อนๆ มองเห็นว่า page ไหนสามารถดึงดูด user ได้มากที่สุด หรือ page ไหนที่ต้องพัฒนาประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น ประกอบด้วย 4 reports
All Pages reports

Pageviews บอกถึงความถี่ที่หน้า page นั้นถูกเปิดดู และแสดงผลแยกเป็นราย URI
ถ้ามองง่ายๆ แบบภาษาคน URI คือตำแหน่งของ page ที่อยู่หลังจาก URL เช่น http://www.example.com/shop.mxd/Home มี URI เป็น /shop.mxd/Home เพื่อนๆ สามารถมองเห็น URI ที่สามารถดึงดูด users ได้จากจำนวน Pageviews และ Avg. Time on Page
ตัวอย่างง่ายๆ ถ้าเป็น page ที่ทำเป็น content เราก็สามารถดูได้จากเวลาที่แต่ละ user ใช้ใน page อย่างถ้า user ใช้เวลาใน page นั้นน๊อยน้อย เนี้ยก็รู้ล่ะ ว่า content มันคงจะน่าเบื่อล่ะ (ดูออกกกกกก)
Content Drilldown
เป็นรายละเอียดของแต่ละ Folder level ที่ใช้เก็บ content ของ website
ยกตัวอย่าง spotify.com เพื่อนๆ อยากฟัง Podcasts ใน spotify


Level 1 = spotify.com หรือหน้า Home page
Level 2 = genre หรือหน้าที่เอาไว้เลือกประเภทของสื่อ (จริงๆ ใช้แปลว่าแนวเพลง)
Level 3 = podcasts-web เป็นหน้าที่เก็บ Podcasts ของทุกๆ เจ้าเอาไว้

ถ้าเพื่อนๆ สังเกตในรูปด้านบน จะเห็นว่า Page path level อยู่ที่ 4 หมายถึงว่าสามารถดู sub-content ของแต่ละ page ลงไปได้เรื่อยๆ ข้อมูลนี้จะทำให้เพื่อนๆ เจาะลึกได้จริงๆ ว่า content ใดที่ต้องปรับปรุง
Landing Pages

Session แรกของ users จะเริ่มที่ Landing pages ข้อมูลส่วนนี้จะบอกได้ว่า Landing pages ไหน ที่สามารถดึงดูด users ได้มากที่สุด ในรูปด้านบนได้ลองทำการ add secondary dimension เป็น Content Grouping: Product Categories เพื่อให้เพื่อนๆ เห็นภาพชัดขึ้น
สิ่งที่ได้จาก report นี้ จริงๆ แล้วมีอีก metric ที่น่าสนใจ นั่นก็คือ Bounce rate สามารถบอก ได้ว่า Landing pages ไหนเมื่อ users เข้ามา แล้วกดปิดโดยไม่ทำอะไรเลย เพื่อเพื่อนๆ จะได้นำไปวิเคราะห์ว่า page นั้นมีปัญหาอะไรหรือเปล่า อะไรที่ทำให้คนกดปิด เช่น Landing page ไม่ตรงกับสิ่งที่ users คาดหวังเพราะตั้งค่า link ผิด page หรือ UI/UX ไม่น่าอ่าน เป็นต้น
Exit Pages

ข้อมูลตัวนี่ล่ะ จะเป็นตัวที่บอกถึงอัตราการออกจาก website ว่าเค้าทิ้งเราไปตอนไหน และ website เราหมดความน่าสนใจไปเมื่อไร (เศร้าจังว่ะ) เข้าใจง่ายๆแบบไม่มาม่า คือ page สุดท้ายที่ user ใช้งานก่อนกดออกจาก website
แต่เรื่องมาม่าก็คือ ถ้าเพื่อนๆ ทำ web ขายของแล้วๆๆๆๆ อัตราการ exit page คือขั้นตอนการชำระเงินเนี้ยสิ…… โอเค อย่าเพิ่งเศร้า ข้อมูลนี่ทำให้เราแก้ปัญหาได้ เพราะเราอาจจะสงสัยได้ว่า ขั้นตอนการชำระเงินนี้สร้างความลำบากอะไรให้กับ user รึป่าว พูดง่ายๆ ก็มองได้ว่าเป็นการ alert ระบบการชำระเงินนี่ล่ะ
Events
ในปัจจุบันข้อมูลมีค่ามากกว่าทอง GA จึงเก็บข้อมูลทุกอย่างที่สามารถเก็บได้ ไม่เว้นแม้แต่การคลิกของเพื่อนๆ บนปุ่ม หรือ link ต่างๆ ซึ่งข้อมูลนี้ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของ users ได้มากยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง

เพื่อนๆ สามารถใช้ข้อมูลนี้เพื่อดูได้ว่าปุ่มไหนถูกคลิกมากที่สุด หรือปุ่มไหนที่อยากให้ users ที่เข้ามาใน page คลิก แต่ดันมียอดคลิกน้อยและนำไปวิเคราะห์สาเหตุต่อ เช่น การทำ UI/UX ไม่ดีทำให้เห็นปุ่มไม่ชัด หรือปุ่มคลิกยากเพราะมีข้อความ ไม่ก็มี link อื่นขวางอยู่
What we learn from Unit 3 ?
- เข้าใจส่วนประกอบเบื้องต้นของ Audience Report
- รู้จัก Demographic data
- เข้าใจการแบ่ง New และ Returning users
- เข้าใจส่วนประกอบเบื้องต้นของ Acquisition Report
- รู้จัก Source และ Medium ที่เป็น Dimensions สำคัญ
- เข้าใจส่วนประกอบเบื้องต้นของ Behavior Report
- รู้จัก Pageviews ที่เป็น Metric สำคัญ
ในคอร์ส Google Analytics for Beginners จะยกตัวอย่างเฉพาะเบื้องต้นในแต่ละ Basic reports หากเพื่อนๆ สนใจลงลึกมากกว่านี้ Google ก็มีอีกคอร์สที่ชื่อว่า Advanced Google Analytics ที่จะลงลึกถึงเนื้อหาและวิธีการ customize ส่วนต่างๆ เพื่อนๆ ที่สนใจสามารถไปลงเรียนได้เลยคร้าบบ
สามารถติชมหรือพูดคุยกันได้ https://www.facebook.com/Malonglearn หรือทิ้งคอมเม้นท์ไว้ด้านล่างนี้เลยจ้า
936 total views, 2 views today